GuitarBuffet Blog

Guitar lover bistro.

Archive for saddle

DIY : น้อง Guild กับการเปลี่ยนสาย

สวัสดีวันอาทิตย์ 11 เดือน 11 ที่ใครๆหลายคน เพลิดเพลินกับการ Shopping กับผู้ขายหลายค่าย

ส่วนผมถือโอกาสเปลี่ยนสาย น้อง Guild F-130RCENAT ตัวนี้

IMG_7138

ได้ Guild ตัวนี้มาเมื่อต้นปี เปลี่ยนสาย แก้ Action เล่นแล้วรู้สึกชอบมาก วันนี้ ได้เวลาเปลี่ยนสาย ก่อนพาไปออกงาน วันที่ 20 พย. นี้

IMG_7142

IMG_7147

ถือโอกาสโชว์ความเป็น All-Solid เสียหน่อย ยี่ห้อ อเมริกา แต่ว่าไปประกอบในเมืองจีน ถึงแม้ว่าจะประกอบในเมืองจีนแต่คุณภาพเสียงก็มิได้ด้อยคุณภาพแต่อย่างใด เล่นแล้วประทับใจ โดยเฉพาะความกังวาล ตลอดจนเรื่อง Sustain ของเสียงของน้อง Guild ตัวนี้

IMG_7156

ก่อนจะเปลี่ยนสาย ก็ขอขัดสีฉวีวรรณ เฟรตกันสักหน่อย

IMG_7157

ขัดสีฉวีวรรณด้วยยาขัดตัวเดิม ก็ได้ความแวววาวของ Fret เหมือนเดิม

IMG_7030

สายที่ใช้ ยังคงเป็น D’ADDARIO เหมือนเช่นเคย

IMG_6929

ใช้ PHOSPHOR BRONZE รุ่นนี้ครับ เบอร์ .012

IMG_7159

IMG_7160

ใส่สายเรียบร้อย พร้อมตั้งสายเล่นได้แล้ว

IMG_7162

IMG_7167

เสร็จภารกิจ การเปลี่ยนสายกีตาร์ให้น้อง Guild กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แล้วค่อยว่ากันใหม่กับภารกิจการบำรุงรักษากีตาร์ตัวอื่นๆ ต่อไป ครับ

สวัสดีครับ

DIY : น้อง Guild กับการบำรุงรักษา ครั้งแรก

สวัสดีวันพุธ วันวาเลนไทน์ครับ และวันนี้ก็ยังเป็นวันจ่าย ของเทศกาลตรุษจีน อีกด้วย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้แลกเปลี่ยนกีตาร์ กับน้องบอม ที่เชียงราย เอา Gibson SG ไปแลกกับ Guild โปร่งไฟฟ้าของเขา เมื่อรับน้อง Guild มาแล้ว ลองเล่นดูรู้สึกว่าระยะ Action ยังไม่ถูกใจ เลยคิดว่าต้องลองปรับความสูงของสายกีตาร์กันเสียหน่อย เพื่อความเพลิดเพลินใจในการเล่นกีตาร์ตัวนี้

จับตัววัด ระยะ Action ของสายมาวัด ก็จะเห็นได้เลยว่า ระยะ  Action ยังพอเอาลงได้อีก เพราะตามมาตรฐานที่ระบุอยู่ใน STRING ACTION RULER นั่น บอกว่า

ความสูงของสายที่ตำแหน่ง Fret 12 ของ Acoustic Guitar ที่เหมาะสม คือ

สาย 1 สูง 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร ส่วนสาย 6 สูง 2.0 – 2.5 มิลลิเมตร

ฉะนั้น น้อง Guild ตัวนี้คงตั้ง ระยะ Action จากโรงงาน มาตามมาตรฐาน โดยตั้งมาที่ขอบด้านสูงสุดก็คือ

สาย 1 สูง 2.0 มิลลิเมตร ส่วนสาย 6 สูง 2.5 มิลลิเมตร แต่ผมต้องการให้ สาย 1 สูง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนสาย 6 สูง 2.0 มิลลิเมตร มันจึงต้องออกแรง จัดการกันหน่อย

ช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ที่ผ่านมา ผมได้จัดการ ปรับระยะ Action ของน้อง Guild และเปลี่ยนสายกีตาร์พร้อมกับจัดการขัดสีฉวีวรรณไปเสียด้วยในโอกาสเดียวกัน

ขั้นตอนหลัก ของการปรับลดระยะห่าง หรือ Action ของสายกีตาร์ ก็คือ การเอาตัว Saddle มาฝนด้วยกระดาษทราย โดยก่อนที่จะลงมือขัด ผมวัดระยะความสูง ของฝั่งสาย 1 และ สาย 6   ด้วยเวอร์เนียร์ คาลิเปอร์เอาไว้ก่อน แล้วจึงค่อยๆขัดเบาๆ แล้วคอยวัดระยะความสูงเป็นระยะ

พอขัดจนได้ความสูง ตามที่ผม ขีดเอาไว้บน เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ แล้ว ก็ลองเอาSaddle มาใส่คืน แล้วใส่สายตั้งสาย แล้วลองเล่นดู ก็พบว่า มีอาการ Buzz ที่สาย 1 และ สาย 2 ที่ตำแหน่ง Fret 18 19 และ 20 ลองส่องดูคอ ก็ปกติดีไม่มีอาการโก่งงอ น่าจะไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากคอ งั้นต้องลองด้วยขั้นตอนต่อไป

โดยเริ่มจากตัดแผ่นพลาสติกบางๆ ให้เท่ากับขนาดของฐาน Saddle แล้วลองกับเข้าไปเพื่อให้ Saddle สูงขึ้น แล้วใส่สายตั้งสาย ลองเล่นใหม่ ก็ปรากฎว่า อาการ Buzz หายไป นั่นน่าจะแปลว่า มีปัญหาที่ บริเวณ Fret 18 19 และ 20 ของฝั่ง สาย 1 สาย 2

ขั้นตอน ต่อมา ต้องลองนำไม้บรรทัด มาวางพาด Fret 18 19 และ 20 โดยใช้ด้านสันของไม้บรรทัดเหล็กวางทาบลงไป ก็จะเห็นว่า Fret 3 ตัวนั้น มีความสูงไม่เสมอกัน และเป็นทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้าน สาย 1 และ สาย 6 ที่ตัว Fret 19 แต่ฝั่งสายเสียงเบส ทั้ง 4 5 และ 6 ไม่มีอาการ Buzz เหมือน สาย 1 และ 2

ขั้นตอนต่อมาต้องลงมือ ขัด Fret 18 19  และ 20 กันต่อ ต้องใช้กระดาษทรายขัดโลหะ เบอร์ละเอียดสุด ค่อยๆ ขัดทีละนิด แล้วเอาสันไม้บรรทัดทาบดู ความสูงต่ำ ของ Fret เรื่อยๆ โดยเฉพาะฝั่งสาย 1 และ 2 ต้องค่อยๆ ขัด ไปช้าๆ

สำหรับการขัดแต่ง Fret นั้น ผมไม่ค่อยกล้าทำอะไรไปเยอะมาก เพราะถ้าขัด Fret แล้วสึกมากเกินไป จะแก้ไขยาก กล่าวคือ ผมไม่สามารถเปลี่ยน Fret ได้เอง เมื่อขัด จนระดับ Fret ได้ระดับเสมอกันแล้ว ผมลองใส่สายตั้งสาย ลองเล่นดูก็พบว่า ยังมีอาการ Buzz เหลืออีกนิดๆ คือ เสียง Note ที่เล่นไม่ตายแล้ว เปลี่ยน Fret แล้ว Note ก็เปลี่ยน แต่มีเสียง Buzz ให้ได้ยิน ไม่เหมือนตอนก่อนขัด Fret ที่ดีด แล้วมีเสียง Note ตาย ช่วง กด สาย 1 สาย 2 ที่ Fret 17 18 แถวๆนั้น

เพื่อให้เสียง Buzz หายไป ก็ต้องช่วยหนุน Saddle ฝั่ง สาย 1 สาย 2 โดย ผมนำแผ่นฟอยด์ ที่ใช้ห่อปลา มาตัดขนาดเท่าฐาน Saddle กะความยาวให้พอระยะ สาย 1 ถึง สาย 2 แล้วหนุนเข้าไปใต้ Saddle แล้ว ทดสอบเสียง Buzz ไปเรื่อยๆ จนเสียง Buzz หายไป ก็จบภารกิจ พร้อมที่จะเปลี่ยนสายชุดใหม่แล้ว

ไหนๆ ก็จะเปลี่ยนสายทั้งที ก็จัดการทำความสะอาด Fret ทั้งหมด ไปเสียด้วยเลย ใช้ Wenol ขัดกันเหมือนเดิม งามวาววับ เหมือนของใหม่จากโรงงาน

หลังจากนั้น ก็ทำความสะอาด Fretboard รวมทั้ง ทำความสะอาดตัวกีตาร์ ให้มันเอี่ยมอ่องอรทัย กันไปเลย

และขั้นตอนสุดท้าย ก็นำสายกีตาร์ที่ซื้อมาใหม่ มาแกะออกจากซอง ทำพิธีใส่สายใหม่ให้ น้อง Guild

ผมยังคงใช้สายของเจ้าเดิม D’Addario แต่ลองเอา Phospher Bronze มาลงกับน้อง Guild  และใช้ขนาด 0.011 เหมือนกันกับของเจ้า Ovation เต่าดำ เพราะว่าเล่นแล้วรู้สึกเข้ามือดี คงจะใช้สายเบอร์กับกีตาร์โปร่งกันไปอีกนาน

สำเร็จเสร็จเรียบร้อย โรงเรียน Guild พร้อมใช้งาน เพื่อการบรรเลงเพลง กันต่อไป 😁

สวัสดีปีใหม่ จีน ครับ

DIY วิธีจัดการกับอาการ fret buzz No.5

วันนี้มาชม clip ที่พูดเรื่องอาการ buzz กันต่อนะครับ วันนี้เป็นกรณีเกิดการ buzz ที่ bridge ที่เป็นแบบ Tune O Matic มือกีตาร์หนุ่มน้อยรายนี้ เล่าให้ฟังว่า กีตาร์ Epiphone ของเขามีอาการ buzz ทุกfret และเป็นทุกสาย เขาเลยจัดการนำไขควงปากแบน มากดลงไปในร่อง saddle ที่มีสปริง แล้วใช้ไขดวง กดขยับให้ตัว saddle แน่นขึ้น จะช่วยลดอาการ buzz ที่ว่า ก็เป็นอาการ buzz อีกแบบนึง เอาไว้เป็นข้อมูลกันนะครับ เผื่อจะไปเจออาการแบบนี้บ้าง

เรียนรู้เรื่องของ Buzz

วันนี้มี clip ที่ว่าด้วยเรื่องเสียง buzz ขณะเล่นกีตาร์ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการดีดสายเมื่อสายสั่นแล้วไปกระทบกับ fret ตัวอื่น ซึ่งจะรบกวนการเล่นกีตาร์ วิทยกรท่านนี้บอกว่ามีสาเหตุที่จะก่อให้เกิดbuzz ว่า จะเกิดจาก

1.การโก่งของคอกีตาร์

2.รัศมีของsaddle ไม่สอดคล้องกับรัศมีของ fretboard

3. fretboard บิดตัว

อาการเหล่านี้จะต้องแก้ด้วยการปรับคอกีตาร์ด้วยการขัน truss rod  ขัน saddle เพื่อปรับระยะ action ตามที่ได้นำเสนอ clip กันไปก่อนหน้านี้แล้ว  ลองชมดูกันเป็นความรู้เบื้องต้นกันก่อนนะครับ

DIY ทบทวนการดูแลกีตาร์

วันนี้มี clip ที่พูดถึงการดูแลรักษากีตาร์เบื้องต้น ตั้งแต่การเปลียนสาย การตั้งสาย การตั้ง intonation ไปจนถึงการตั้ง action การขัน truss rod ยำใหญ่มาใน clip เดียวกันนี่เลย ได้ทีเดียวหลายเรื่อง ถือเป็นการทบทวนการเรียนรู้ที่ผ่านๆมาด้วยครับ

DIY การตั้ง actionของกีตาร์ No.7

วันนี้เรามาชมการตั้ง action กันต่ออีกสักหน่อยนะครัย วิทยากรรายนี้ วัดความสูงของ action ที่ fret12 โดยพูดถึงระดับ action ที่ 4ส่วน64 นิ้ว ผมเลยนำรูปของการแบ่งส่วนบนไม้บรรทัดมาให้ชมกันเสียหน่อย

เขาบอกว่าให้วัดที่ระดับ 3/64นิ้ว หรือ4/64นิ้ว ก็ลองกะประมาณกันดูว่ามันเป็นกี่มิลลิเมตรเพราะส่วนใหญ่ไม้บรรทัดที่ใช้กัน มักไม่ได้แบ่งนิ้วเป็น 64 ส่วนที่หัวไม้บรรทัดเสียด้วย

ท้าย clip ก็พูดถึง intonation และการขัน truss rod เป็นของแถมให้ด้วยครับ

DIY การตั้ง actionของกีตาร์ No.6 (Gibson Style)

clip วันนี้ วิทยากรสอนวิธีการขันตัวน๊อตบน bridge ของกีตาร์แบบ Gibson ซึ่งจะขันปรับตั้งระยะ action ได้ง่ายกว่ากีตาร์แบบ Fender รายนี้ให้วัดระยะที่ fret12 ด้วยระดับความสูงของสาย1 และสาย6 ที่ 2 มิลลิเมตร ลองชมกันครับ

DIY การตั้ง actionของกีตาร์ No.5

วันนี้เรามาชมการตั้ง กีตาร์โปร่งไฟฟ้ายี่ห้อยอดฮิตอย่าง Ovation กันครับ ผมเองก็เพิ่งทราบว่า Ovation ใช้แผ่นบางๆ วางซ้อนไว้ใต้ saddle ถ้าอยากจะลดระดับ ก็ดึงแผ่นรองออกทีละแผ่นจนกว่าจะได้ระดับ action ที่ต้องการ

ผมเองเคยใช้วิธีนี้อยู่เหมือนกัน แต่เป็นการเอาแผ่นมารองหนุน หลังจากที่ขัดฐานsaddle เสียเพลินจนต่ำเกินไป ท่านที่เป็นเจ้าของกีตาร์ Ovation ลองศึกษาดูไว้หน่อยนะครับ เพื่ออย่างจะตั้งaction ด้วยตัวเอง จะได้ถอดsaddle ได้ถูกต้องตามวิธี

DIY การตั้ง actionของกีตาร์ No.4

วันนี้เรามาชมกัน ตั้ง action กีตาร์โปร่ง ตัวแพงอย่าง Seagullบ้าง ซึ่งยังคงใช้วิธีการฝน saddle ด้วยกระดาษทรายเหมือนกัน ลองชมกันเป็น idea นะครับ

DIY การตั้ง Intonation ให้กับกีตาร์ No.10

สวัสดีวันอาทิตย์ครับ ว่ากันด้วยเรื่อง Intonation กันมาถึง Blog ที่ 12 วันนี้ จัด clip ที่ให้ความรู้เรื่อง Intonation ค่อนข้างดีมาก อธิบายด้วยตรรกศาสตร์ แล้วทำให้เข้าใจว่า ทำไม saddleของกีตาร์โปร่ง ต้องเป็นรูปร่างหน้าตาแบบนั้น เนื่องจากกีตาร์โปร่งมีสายเปลือย 2เส้น คือสาย 1 และสาย 2 ส่่วนสาย 3-6 เป็นสายหุ้ม ทำให้ การวางตัวของ saddle แบบตายตัวของกีตาร์โปร่งจึงออกมาหน้าแบบนี้

ซึ่งเมื่อก่อนผมไม่มีความรู้เรื่อง Intonation ผมกลัววาง saddle กลับข้างจึงต้องใช้วิธีการเขียนตัวเลขของสายกีตาร์กำกับเอาไว้ ^^  ครั้นเมื่อเล็งไปที่นัทก็จะพบว่า นัทก็ไม่ได้วางเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับตัวfretboard จะมีลักษณะเฉียงนิดตามทิศทางของ saddle

ส่วน saddle ของกีตาร์ไฟฟ้า จะแตกกต่่างจาก saddle ของกีตาร์โปร่ง เพราะมีสาย 1-3 เปลือย ส่วนสาย 4-6 หุ้ม ทำให้การเรียงตัวของ saddle ภายหลังจากตั้ง Intonation ได้ระดับแล้วจะเป็นแบบนี้

ส่วนนัทของกีตาร์ไฟฟ้าก็มีลักษณะเฉียงนิดๆเช่นกัน

จากตรรกการออกแบบกีตาร์ดังกล่าว  จึ่งเป็นที่มาของ saddle ของกีตาร์ ระดับสูง อย่าง PRS ที่เป้นแบบตายตัว ว่าทำไมถึงมีหน้าแบบนั้น ลองดูการวางตัวของ saddle ของกีตาร์ PRS เพิ่มเติมจากใน clip นะครับ

รายนี้ตั้ง Intonation ด้วยการใช้ไม้บันทัดวัดระยะ จากนัทถึง fret12 และระยะจาก fret12 ถึง saddle เป็นหลัก โดยวัดจากจุดที่สายสัมผัสนัท สัมผัส fret12 และสัมผัส saddle

สาระใจความจาก clip บอกว่าการตั้ง Intonation เป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำ สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาก่อนก็คือการโก่งงอของคอกีตาร์ เพราะความโก่งขอคอกีตาร์มีผลต่อน้ำหนักการกดสายลงบนfret12 น้ำหนักการกดสายลงบน fret12 ก็จะมีผลต่อเสียงโน๊ต ด้วย  ดังนั้น ท่านนี้จึงเน้น การตั้ง Intonation ด้วยการวัดระยะ ด้วยไม้บรรทัด เป็นหลัก ลองชมดูจากใน clip กันนะครับ