GuitarBuffet Blog

Guitar lover bistro.

Archive for string

DIY : น้อง Guild กับการเปลี่ยนสาย

สวัสดีวันอาทิตย์ 11 เดือน 11 ที่ใครๆหลายคน เพลิดเพลินกับการ Shopping กับผู้ขายหลายค่าย

ส่วนผมถือโอกาสเปลี่ยนสาย น้อง Guild F-130RCENAT ตัวนี้

IMG_7138

ได้ Guild ตัวนี้มาเมื่อต้นปี เปลี่ยนสาย แก้ Action เล่นแล้วรู้สึกชอบมาก วันนี้ ได้เวลาเปลี่ยนสาย ก่อนพาไปออกงาน วันที่ 20 พย. นี้

IMG_7142

IMG_7147

ถือโอกาสโชว์ความเป็น All-Solid เสียหน่อย ยี่ห้อ อเมริกา แต่ว่าไปประกอบในเมืองจีน ถึงแม้ว่าจะประกอบในเมืองจีนแต่คุณภาพเสียงก็มิได้ด้อยคุณภาพแต่อย่างใด เล่นแล้วประทับใจ โดยเฉพาะความกังวาล ตลอดจนเรื่อง Sustain ของเสียงของน้อง Guild ตัวนี้

IMG_7156

ก่อนจะเปลี่ยนสาย ก็ขอขัดสีฉวีวรรณ เฟรตกันสักหน่อย

IMG_7157

ขัดสีฉวีวรรณด้วยยาขัดตัวเดิม ก็ได้ความแวววาวของ Fret เหมือนเดิม

IMG_7030

สายที่ใช้ ยังคงเป็น D’ADDARIO เหมือนเช่นเคย

IMG_6929

ใช้ PHOSPHOR BRONZE รุ่นนี้ครับ เบอร์ .012

IMG_7159

IMG_7160

ใส่สายเรียบร้อย พร้อมตั้งสายเล่นได้แล้ว

IMG_7162

IMG_7167

เสร็จภารกิจ การเปลี่ยนสายกีตาร์ให้น้อง Guild กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แล้วค่อยว่ากันใหม่กับภารกิจการบำรุงรักษากีตาร์ตัวอื่นๆ ต่อไป ครับ

สวัสดีครับ

DIY : น้อง Guild กับการบำรุงรักษา ครั้งแรก

สวัสดีวันพุธ วันวาเลนไทน์ครับ และวันนี้ก็ยังเป็นวันจ่าย ของเทศกาลตรุษจีน อีกด้วย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้แลกเปลี่ยนกีตาร์ กับน้องบอม ที่เชียงราย เอา Gibson SG ไปแลกกับ Guild โปร่งไฟฟ้าของเขา เมื่อรับน้อง Guild มาแล้ว ลองเล่นดูรู้สึกว่าระยะ Action ยังไม่ถูกใจ เลยคิดว่าต้องลองปรับความสูงของสายกีตาร์กันเสียหน่อย เพื่อความเพลิดเพลินใจในการเล่นกีตาร์ตัวนี้

จับตัววัด ระยะ Action ของสายมาวัด ก็จะเห็นได้เลยว่า ระยะ  Action ยังพอเอาลงได้อีก เพราะตามมาตรฐานที่ระบุอยู่ใน STRING ACTION RULER นั่น บอกว่า

ความสูงของสายที่ตำแหน่ง Fret 12 ของ Acoustic Guitar ที่เหมาะสม คือ

สาย 1 สูง 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร ส่วนสาย 6 สูง 2.0 – 2.5 มิลลิเมตร

ฉะนั้น น้อง Guild ตัวนี้คงตั้ง ระยะ Action จากโรงงาน มาตามมาตรฐาน โดยตั้งมาที่ขอบด้านสูงสุดก็คือ

สาย 1 สูง 2.0 มิลลิเมตร ส่วนสาย 6 สูง 2.5 มิลลิเมตร แต่ผมต้องการให้ สาย 1 สูง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนสาย 6 สูง 2.0 มิลลิเมตร มันจึงต้องออกแรง จัดการกันหน่อย

ช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ที่ผ่านมา ผมได้จัดการ ปรับระยะ Action ของน้อง Guild และเปลี่ยนสายกีตาร์พร้อมกับจัดการขัดสีฉวีวรรณไปเสียด้วยในโอกาสเดียวกัน

ขั้นตอนหลัก ของการปรับลดระยะห่าง หรือ Action ของสายกีตาร์ ก็คือ การเอาตัว Saddle มาฝนด้วยกระดาษทราย โดยก่อนที่จะลงมือขัด ผมวัดระยะความสูง ของฝั่งสาย 1 และ สาย 6   ด้วยเวอร์เนียร์ คาลิเปอร์เอาไว้ก่อน แล้วจึงค่อยๆขัดเบาๆ แล้วคอยวัดระยะความสูงเป็นระยะ

พอขัดจนได้ความสูง ตามที่ผม ขีดเอาไว้บน เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์ แล้ว ก็ลองเอาSaddle มาใส่คืน แล้วใส่สายตั้งสาย แล้วลองเล่นดู ก็พบว่า มีอาการ Buzz ที่สาย 1 และ สาย 2 ที่ตำแหน่ง Fret 18 19 และ 20 ลองส่องดูคอ ก็ปกติดีไม่มีอาการโก่งงอ น่าจะไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากคอ งั้นต้องลองด้วยขั้นตอนต่อไป

โดยเริ่มจากตัดแผ่นพลาสติกบางๆ ให้เท่ากับขนาดของฐาน Saddle แล้วลองกับเข้าไปเพื่อให้ Saddle สูงขึ้น แล้วใส่สายตั้งสาย ลองเล่นใหม่ ก็ปรากฎว่า อาการ Buzz หายไป นั่นน่าจะแปลว่า มีปัญหาที่ บริเวณ Fret 18 19 และ 20 ของฝั่ง สาย 1 สาย 2

ขั้นตอน ต่อมา ต้องลองนำไม้บรรทัด มาวางพาด Fret 18 19 และ 20 โดยใช้ด้านสันของไม้บรรทัดเหล็กวางทาบลงไป ก็จะเห็นว่า Fret 3 ตัวนั้น มีความสูงไม่เสมอกัน และเป็นทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้าน สาย 1 และ สาย 6 ที่ตัว Fret 19 แต่ฝั่งสายเสียงเบส ทั้ง 4 5 และ 6 ไม่มีอาการ Buzz เหมือน สาย 1 และ 2

ขั้นตอนต่อมาต้องลงมือ ขัด Fret 18 19  และ 20 กันต่อ ต้องใช้กระดาษทรายขัดโลหะ เบอร์ละเอียดสุด ค่อยๆ ขัดทีละนิด แล้วเอาสันไม้บรรทัดทาบดู ความสูงต่ำ ของ Fret เรื่อยๆ โดยเฉพาะฝั่งสาย 1 และ 2 ต้องค่อยๆ ขัด ไปช้าๆ

สำหรับการขัดแต่ง Fret นั้น ผมไม่ค่อยกล้าทำอะไรไปเยอะมาก เพราะถ้าขัด Fret แล้วสึกมากเกินไป จะแก้ไขยาก กล่าวคือ ผมไม่สามารถเปลี่ยน Fret ได้เอง เมื่อขัด จนระดับ Fret ได้ระดับเสมอกันแล้ว ผมลองใส่สายตั้งสาย ลองเล่นดูก็พบว่า ยังมีอาการ Buzz เหลืออีกนิดๆ คือ เสียง Note ที่เล่นไม่ตายแล้ว เปลี่ยน Fret แล้ว Note ก็เปลี่ยน แต่มีเสียง Buzz ให้ได้ยิน ไม่เหมือนตอนก่อนขัด Fret ที่ดีด แล้วมีเสียง Note ตาย ช่วง กด สาย 1 สาย 2 ที่ Fret 17 18 แถวๆนั้น

เพื่อให้เสียง Buzz หายไป ก็ต้องช่วยหนุน Saddle ฝั่ง สาย 1 สาย 2 โดย ผมนำแผ่นฟอยด์ ที่ใช้ห่อปลา มาตัดขนาดเท่าฐาน Saddle กะความยาวให้พอระยะ สาย 1 ถึง สาย 2 แล้วหนุนเข้าไปใต้ Saddle แล้ว ทดสอบเสียง Buzz ไปเรื่อยๆ จนเสียง Buzz หายไป ก็จบภารกิจ พร้อมที่จะเปลี่ยนสายชุดใหม่แล้ว

ไหนๆ ก็จะเปลี่ยนสายทั้งที ก็จัดการทำความสะอาด Fret ทั้งหมด ไปเสียด้วยเลย ใช้ Wenol ขัดกันเหมือนเดิม งามวาววับ เหมือนของใหม่จากโรงงาน

หลังจากนั้น ก็ทำความสะอาด Fretboard รวมทั้ง ทำความสะอาดตัวกีตาร์ ให้มันเอี่ยมอ่องอรทัย กันไปเลย

และขั้นตอนสุดท้าย ก็นำสายกีตาร์ที่ซื้อมาใหม่ มาแกะออกจากซอง ทำพิธีใส่สายใหม่ให้ น้อง Guild

ผมยังคงใช้สายของเจ้าเดิม D’Addario แต่ลองเอา Phospher Bronze มาลงกับน้อง Guild  และใช้ขนาด 0.011 เหมือนกันกับของเจ้า Ovation เต่าดำ เพราะว่าเล่นแล้วรู้สึกเข้ามือดี คงจะใช้สายเบอร์กับกีตาร์โปร่งกันไปอีกนาน

สำเร็จเสร็จเรียบร้อย โรงเรียน Guild พร้อมใช้งาน เพื่อการบรรเลงเพลง กันต่อไป 😁

สวัสดีปีใหม่ จีน ครับ

DIY : ถึงคิวเปลี่ยนสายกีตาร์และบำรุงรักษา Ovation Balladeer 1861

สวัสดีวันพุธครับ วันนี้เป็นวันเริ่มต้นทำงานวันแรกของปีใหม่ 2561 ของหลายๆท่าน คงต้องปรับเข้าสู่โหมดชีวิตจริงกันตามเดิม

เมื่อวานผมได้ดำเนินการ เปลี่ยนสายกีตาร์เจ้า Ovation Balladeer 1861 ปี ค.ศ. 1985 ซึ่งได้ถือโอกาสจัดการขัดสีฉวีวรรณกันไปเสียด้วยเลย เนื่องจากไม่ได้ ทำกันมานานแล้ว

สายเดิมนั่นก็ใช้มาเป็นเวลนานมากแล้วเหมือนกัน น่าจะยังไม่เคยเปลี่ยนสายอีกเลย หลังจากที่เปลี่ยนไปเมื่อครั้งหลังสุด ราวๆ 2 ปีที่แล้ว ถึงเวลาเสียทีที่จะต้องเปลี่ยนแปลง เอ้ยเปลี่ยนสาย

ลำดับแรก ก็ต้องจัดการกับเรื่องFret กันก่อน เพราะใช้งานมานานเป็นปี ไม่เคยทำความสะอาด Fret ก็ย่อมจะหมองไปตามกาลเวลา

สภาพของ Fret ก่อนทำการเสริมสวย

Wenol เจ้าเดิม ผู้ที่จะมาช่วยขัดสีฉวีวรรณให้ Fret ของเจ้าเต่าบางตัวนี้

เริ่มลงมือกันล่ะ แปรงๆ ขัดๆ ให้ทั่วทุก Fret

เสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรดสังเกตุ ความเงางามของ Fret จบขั้นตอนของการเสริมความงามแล้ว ก็ไปดำเนินการขั้นตอนอื่นๆ กันต่อ

น้ำยา ขัดบอดี้ ขวดนี้ ซื้อในบ้านเรา นี่ล่ะ

เขย่าขวดแล้วพ่นเป็นละอองให้ทั่ว แล้วค่อยๆ เช็ดน้ำยาที่พ่นนั้นออกไป ตามด้วยใช้ผ้านุ่ม เช็ดเบาๆ ให้เกิดความเงางาม

ขั้นตอนต่อมา ลงน้ำยาขัด Fretboard ขวดนี้ใช้มานาน ซื้อจาก e-bay ร่วมสิบปีได้แล้ว

เสร็จภารกิจ ทั้ง บอดี้ และ Fretboard

เรียบร้อย หล่อแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย เปลี่ยนสายกันล่ะ

ยังคงใช้สายรุ่นเดิม D’Addario 85/15 Bronze แต่ลดขนาดลง เพราะรู้สึกว่า 0.012 มันทำให้เจ็บนิ้ว ต้องลองลดขนาดลงมาสักหน่อย เพื่อความสุนทรีย์ของปลายนิ้ว 😁

สำเร็จเสร็จเรียบร้อย โรงเรียน Ovation เต่าดำ เอาไว้จะใช้เต่าดำที่เปลี่ยนสายใหม่ มาบรรเลงเพลงให้ฟัง ครับ

สวัสดีปีใหม่ ครับ

DIY : ถึงคิวเปลี่ยนสายกีตาร์และบำรุงรักษา OLP by Music Man (ตอนที่2)

สวัสดีวันอังคารครับ เริ่มต้นทำงานวันแรกหลังจากหยุดงานมาหลายวัน ขอให้มีความสุขในการทำงานกันนะครับ วันนี้จะนำข้อมูลการดำเนินการีววรณและการเปลี่ยนสายกีตาร์ของเจ้า OLP by Music Man ที่ผมเพิ่งได้รับเข้ามาสู่ครอบครัวตัวดำกันต่อนะครับ-

ความเดิมจากตอนที่แล้ว ที่ว่าเอาไว้ถึงการแน่นำ ผู้ช่วยขวดต่างๆ

OLP06

วันนี้ จะให้ชมขุมกำลัง ซึ่งมันน่าสนใจตรงที่เจ้าของเดิม เปลี่ยน pickup ตัว Bridge เป็น Dimarzio ที่ผมเองก็ยังไม่เคยสัมผัสมาก่อนเลยเหมือนกัน

OLP07

OLP08

ขันสกรู คลายออกเพื่อจับหงายท้องมาดูข้อมูลว่าเป็นรุ่นอะไร แต่ได้ข้อมูลแค่นี้ แล้วจะรู้กันมั้ยเนี่ยว่าเขาเป็นรุ่นไหน จนปัญญาแล้วล่ะครับ

OLP09

ส่วนเจ้า Pickup ตัว Neck ยังเป็นของเดิมที่ติดมาจากโรงงาน ยิ่งไม่รู้อะไรเลย ว่าเป็นรุ่นไหน

z,9hv’iu[vk[ohewxme’koc]h;]jt8iy[ ขอมาเล่าต่อในตอนที่ 3 นะครับ

 

DIY : ถึงคิวเปลี่ยนสายกีตาร์และบำรุงรักษา OLP by Music Man (ตอนที่1)

สวัสดีวันเสาร์ครับ วันหยุดยาวเข้าพรรษา ออกไปทำบุญกันแล้ว ก็คงออกไปท่องเที่ยวผ่อนคลายกันจากภาระงานกันนะครับ ผมเพิ่งได้กีตาร์ มาใหม่ตัวนึงเป็น OLP by Music Man ที่อยากลองมานาน

IMG_6177

เมื่อได้มาแล้ว พิธีรับน้องเข้าสู่ครอบครัวตัวดำ ก็ต้องจับมา สำรวจสภาพขัดสีฉวีวรรณและ เปลี่ยนสายกันตามระเบียบ

IMG_6176


   เหมือนกับทุกๆครั้ง ที่ผมจะมีตัวช่วยในการทำงาน จากซ้ายไปขวา เริ่มจากสเปรย์ล้าง Contact ต่างๆ ที่เอาไว้ฉีด พวกปุ่ม Volume หรือ Switch Selector  ลำดับต่อมา คือ Lemon Oil ใช้กับส่วนที่เป็นงานไม้ ได้ผลดีมาก ตามมาด้วยน้ำยาเช็ด Fretboard

ลำดับต่อมาเป็น Spray สำหรับพ่นลงบน Body ที่ตอนนี้เริ่มจะหมดสภาพแล้ว  จึงต้องหาผู้ช่วยตัวใหม่ นั่นคือ Conditioner สำหรับใส่ผมหลังสระ ที่ผลิตจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ของ TROPICANA ที่ผมใช้แทนยาสระผมกันเลยทีเดียว และสุดท้ายที่อยู่แถวหน้าสุดก็คือ คือยาขัด Wenol ซึ่งผมใช้ขัด Fret  ให้เงางาม

IMG_6183

OLP05

 

วันนี้ผมมีภารกิจอื่นที่ต้องไปทำต่อ คงต้องค้างเอาไว้ตรงนี้ก่อน แล้วผมจะมาเล่าต่อในตอนที่ 2 นะครับ

 

DIY : ถึงคิวเปลี่ยนสายกีตาร์และบำรุงรักษา YAMAHA SG RR 198X

สวัสดีวันพุธครับ วันนี้วันทำงานกลางสัปดาห์ สำหรับวันนี้ผมจะนำข้อมูลการบำรุงรักษาประจำปีของกีตาร์ครอบครัวตัวดำอีก 1 ตัวมาเล่าสู่กันฟัง กันต่อครับ

IMG_5013

ขอแนะนำตัวช่วยในการทำงาน เหมือนเดิม จากซ้ายไปขวา เริ่มจาก Lemon Oil ใช้กับส่วนที่เป็นงานไม้ ได้ผลดีมาก ลำดับต่อมาเป็น Spray สำหรับพ่นลงบน Body ก็ทำงานได้ผลดีมาก ลำดับถัดมาเป็นน้ำยาเช็ด Fretboard ซึ่งผลทสอบในเบ้องต้นผมเชื่อว่า คุณสมบัติเหมือนกับ Lemon Oil มากครับ และสุดท้ายคือยาขัด Wenol ซึ่งผมใช้ขัด Fret  แวววับจับใจ

วันนี้จะเป็นคิวของเจ้า YAMAHA SG-RR Standard (1989, P-90 type pickups, similar to Les Paul Junior DC / Les Paul Special DC)กันล่ะครับ

IMG_5048 IMG_5049

 

 

 

 

 

อย่างที่ข้อมูลที่ผม copy มาจาก wiki ที่บอกว่ามันจะคล้ายกันกับ Gibson Les Paul Junior DC หรือ Les Paul Special DC ซึ่ง SG-RR เป็นอีกรุ่น ที่ YAMAHA ต้องการที่จะสร้างมาประกบรุ่น ตาม Gibson Les Paul เพื่อที่จะเป็น “Les Paul Killer”

IMG_5051ส่วนของ Truss-rod ก็ยังทำเป็นแบบเดียวกับ Gibson Les Paul

IMG_5052สำหรับอุปกรณ์ ปุ่ม Volume Tone และ Switch มีอย่างละ 1 ตัว ซึ่งจะสังเกตุได้ว่า ญี่ปุ่น จัดเต็ม ลงอุปกรณ์ ปุ่ม 500K ตัวใหญ่ ไม่น้อยหน้า Gibson

หาตัวอย่างเสียงของ YAMAHA SG-RR Standard ยังไม่เจอ เลยนำ SG-RR Custom มาให้ฟังแทนนะครับ

ส่วนงานทำความสะอาด ผมใช้ Wenol ขัด Fret ใช้น้ำยาขัด Fretboard ของ Fender และใช้ Lemon Oil ลงในส่วนของ บอดี้ และคอครับ

IMG_5053

สุดท้ายก็จัดการเปลี่ยนสาย เป็นอันเสร็จพิธี ครับ

วันนี้ขอจบภารกิจตัวที่3 ตัวสุดท้ายของรอบนี้ครับ

DIY : ถึงคิวเปลี่ยนสายกีตาร์และบำรุงรักษา Gibson Leas Paul Standard DC 2007

สวัสดีวันอังคารครับ วันนี้วันทำงานที่เริ่มจะมีความวุ่นวายได้ระดับ สำหรับวันนี้ผมจะนำข้อมูลการบำรุงรกษาประจำปีของกีตาร์ครอบครัวตัวดำอีก 1 ตัวมาเล่าสู่กันฟัง กันต่อครับ

IMG_5013

ขอแนะนำตัวช่วยในการทำงาน เหมือนเดิม จากซ้ายไปขวา เริ่มจาก Lemon Oil ใช้กับส่วนที่เป็นงานไม้ ได้ผลดีมาก ลำดับต่อมาเป็น Spray สำหรับพ่นลงบน Body ก็ทำงานได้ผลดีมาก ลำดับถัดมาเป็นน้ำยาเช็ด Fretboard ซึ่งผลทสอบในเบ้องต้นผมเชื่อว่า คุณสมบัติเหมือนกับ Lemon Oil มากครับ และสุดท้ายคือยาขัด Wenol ซึ่งผมใช้ขัด Fret  แวววับจับใจ

วันนี้จะเป็นคิวของเจ้า Gibson Leas Paul Standard Double Cutaway ปี 2007 กันล่ะครับ

Guitar Info

Your guitar was made at the
Nashville Plant, TN, USA
March 15th, 2007
Production Number: 239

IMG_5032

สุดหล่อค่ายน้องกิ๊บ อีกตัวนึง หล่อเข้มมี 2 เขา ต่างจาก Les Paul Standard ทั่วไปที่มีเพียงเขาเดียว ^ ^

IMG_5033

IMG_5034

ส่วนหัว กับ Logo ที่เป็นเอกลักษณ์ และ Truss-rod แบบฉบับมาตรฐาน Gibson งานบริเวณหัวกีตาร์หรือ Headstock นี่ถือเป็นสเนห์หลักของ Gibson ที่มือกีตาร์ทั่วโลกอยากได้เป็นเจ้าของครอบครองสักตัวนึง ไหนลองมาชมเครื่องเคราในส่วนอื่นๆ กันบ้าง

IMG_5035

IMG_5036 IMG_5037

ขุมกำลังของ Pickup ทั้ง 2 ตัว ที่ผมงงกับชื่อของมัน แต่จากการสอบถามเจ้าพ่อ Google ก็ได้คำตอบว่า

“Correct, Alnico V BurstBuckers are the EXACT same pickups as BurstBucker Pros. #1 Alnico V = RHY PRO and #2 Alnico V = LEAD PRO. This name (and white sticker) change happenned sometime around late-2006 – early-2007.”

จาก http://www.lespaulforum.com/forum/showthread.php?t=174558

และ “Your “Lead Pro” is a Gibson Burstbucker Pro bridge pickup; the neck would say “Rhythm Pro”. It has an AlNiCo V magnet.”

จาก http://www.mylespaul.com/forums/pickups/133717-gibson-lead-pro-t-top-1969-peter-green-tone.html

หมายความว่า Les Paul ตัวนี้มี Pickup แบบ Burstbucker Pro ทั้ง 2 ตัวเลย โดยที่

ตัว Neck มันก็คือ Burstbucker Pro – Neck Pickup http://store.gibson.com/burstbucker-pro-neck-pickup/

ตัว Bridge มันก็คือ Burstbucker Pro – Bridge Pickup http://store.gibson.com/burstbucker-pro-bridge-pickup/

ซึ่งมีลักษณะเสียง ประมาณนี้ ครับ

ลองมาดูส่วนของ ปุ่มและสวิทช์ต่างๆกันบ้าง

IMG_5042IMG_5043

กีตาร์ตัวนี้ มี ปุ่ม Volume 2 ตัว มีปุ่มTone ใช้ร่วมกัน 1 ตัว และ สวิทช์เลือก pickup 1 ตัว อยู่ในตำแหน่งบริเวณเดียวกันนี้ด้วย

IMG_5044 IMG_5045

ทีนี้พอมาสังเกตุตรงหลุม สำหรับติดตั้ง ปุ่มและสวิทช์ ถึงได้เห็นว่ากีตาร์ตัวนี้ไม่ได้ตัวตันไปทั้งหมด มีลักษณะกึ่งกลวง (Semi-hollow) ก็แปลกดี เพราะจะทำเป็น Semi-hollow แล้ว เปิด f-hole ด้านบน ก็ไม่ทำแฮะ ไม่รู้ว่ามีเหตุผลอะไร ที่ทำไว้แบบนี้

IMG_5073

IMG_5072

 

 

 

 

 

ในส่วนของลูกบิด Gibson ตัวนี้เป็นลูกบิด Grover หัวมน ซึ่งจะใช้รูยึดเพียงรูเดียว จะไม่มีร่องรอยรูที่เหลือทิ้งเอาไว้เปล่าเหมือนเจ้า Studio ตัวเมื่อวาน

เข้ามาสู่ขั้นตอนการขัดทำความสะอาด Fret และ Fretboard กันล่ะครับ  ผมยังคงใช้สูตรเดิมกับการทำความสะอาด Fret กับ Fretboard โดยใช้ Wenol กับนำยาขัด Fretboard ของ Fender ส่วนบอดี้กับส่วนที่เป็นไม้ ผมใช้น้ำยาขวดสเปรย์ของ Martin แทน Lemon Oil เพราะกีตาร์ตัวนี้ เป็นงานสีเคลือบเงา ส่วน Studio เมื่อวานเป็นงาน Satin และสุดท้าย ก็จัดการเปลี่ยนสายกีตาร์ เป็นอันเสร็จพิธีสำหรับกีตาร์ตัวนี้

IMG_5046

พรุ่งนี้จะมาเล่าสู่กันฟังกับภารกิจตัวที่3 ตัวสุดท้ายของรอบนี้กันต่อครับ

DIY : ถึงคิวเปลี่ยนสายกีตาร์และบำรุงรักษา Gibson Studio 2010

สวัสดีวันจันทร์ครับ เข้าสู้่ Mode การทำงาน อย่างจริงจังสำหรับปีนี้ กันแล้วล่ะครับ เมื่อวานหยุดวันอาทิตย์ ผมได้นำกีตาร์ มาทำการเปลี่ยนสายประจำปีและถือโอกาสทำการบำรุงรักษาไปพร้อมกันเลยทีเดียวครับ ผมจะถือโอกาสแบบนี้ ทำการตรวจสอบรายละเอียดกีตาร์ที่เพิ่งซื้อเข้ามาในปีนี้ และตรวจสภาพกีตาร์ที่อยู่ในครอบครอง ซึ่งเมื่อวานผมจัดการกีตาร์ได้ 3 ตัว ผมจะทยอยมาเล่าสู่กันฟังไป ทีละวัน นะครับ สำหรับวันแรกนี้ ผมขอเริ่มด้วย Gibson Studio 2010 เป็นตัวแรก ก็แล้วกันครับ IMG_5013   ขอแนะนำตัวช่วยในการทำงาน จากซ้ายไปขวา เริ่มจาก Lemon Oil ใช้กับส่วนที่เป็นงานไม้ ได้ผลดีมาก ลำดับต่อมาเป็น Spray สำหรับพ่นลงบน Body ก็ทำงานได้ผลดีมาก ลำดับถัดมาเป็นน้ำยาเช็ด Fretboard ซึ่งผลทสอบในเบ้องต้นผมเชื่อว่า คุณสมบัติเหมือนกับ Lemon Oil มากครับ และสุดท้ายคือยาขัด Wenol ซึ่งผมใช้ขัด Fret  แวววับจับใจ

สำหรับตัวแรกก็คือ Gibson Studio ปี 2010 กีตาร์ตัวล่าสุดของครอบครัวตัวดำ เพิ่งได้มาเมื่อไม่นานนี้

IMG_5006 IMG_5007

มันคือเจ้าหนุ่มคนนี้ ลองมาดูเครื่องเคราของเขากันก่อน

IMG_5010

 

IMG_5011

 

สำหรับ Pickup ตัว Neck เจ้าของเดิม เปลี่ยนเอา Gibson ’57 มาลงใหม่ ที่มีลักษณะเสียงแบบนี้

IMG_5012

สำหรับ Pickup ตัว Bridge เจ้าของเดิม เปลี่ยนเอา Gibson BB#3 (Brustbucker Type3)มาลงใหม่ ที่มีลักษณะเสียงแบบนี้

IMG_5025 IMG_5026ส่วนปุ่มและสวิทช์ต่างๆ ที่เจ้าของเดิมจัดการ wiring ใหม่ ลง Capacitor สีส้มตัวเก่ง

IMG_5014

 

Truss-Rod ตามมาตรฐานของ Gibson

 

 

 

 

 

IMG_5029

ส่วนลูกบิด ก็เปลี่ยนจาก ใบพาย Kluson มาเป็นใบพาย Grover เลยทำให้เห็นรูเดิม ที่ Kluson เคยครอบครองอยู่ เพราะ Kluson จะต้องยึดด้วยสกรู 2 ตัว บน-ล่าง

ผมจะเริ่มจากการทำความสะอาด Fret ด้วย Wenol เพื่อทำให้ Fret ลื่น และความเงางามเป็นอันดับต่อมา

IMG_5016

 

Fret ในกลุ่มทางขวามือ ยังมี Wenol เกาะติดอยู่ ส่วนฝั่งซ้ายมือ ขัดออกไปแล้ว

 

 

 

 

IMG_5017หลังจากขัดเสร็จแล้วก็จะ เงาวับจับตาประมาณนี้ หลังจากขัด Fret เสร็จ ผมก็จะลงน้ำยาขัด Fretboard ของ Fender ซึ่งจะทำให้ Fretboard มีความสะอาดตาขึ้นมาทันทีเช่นกันครับ

ลำดับต่อมาก็จะ ลง Lemon Oil เพื่อทำความสะอาดในส่วนที่เป็นไม้

IMG_5019

 

บอดี้ ซีกซ้าย ลง Lemon Oil ไปแล้ว ส่วนขวาบน (ขวามือของ Bridge) ยังไม่ได้ลง Lemon Oil

IMG_5023

 

 

IMG_5024

 

ภาพคู่นี้จะเห็นได้ชัดเจนกว่า ส่วนบอดี้ที่อยู่ใต้ Bridge ที่ยังไม่โดน Lemon Oil เพราะลืมถอด Bridge ออก พอถอดออกมาจึงได้เห็นความแตกต่าง หลังจากลง Lemon Oil แล้วก็จะกลายเป็นแบบในภาพขวามือ และก็ทำความสะอาดแบบนี้กับด้านหลังและ คอกับส่วนหัว (Head Stock)

IMG_5031

 

เมื่อทำความสะอาดครบทุกส่วนแล้วก็จะเป็นการเปลี่ยน ก็เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจสำหรับเจ้า Gibson Studio ตัวนี้ วันพรุ่งนี้จะมาเล่าสู่กันฟังกับภารกิจตัวอื่นๆกันต่อครับ

 

DIY สร้างกีตาร์ไฟฟ้าแบบง่ายๆ

เมื่อวานได้ชม หลักการทำงานของกีตาร์ไฟฟ้า วันนี้มาลองสร้างกีตาร์ไฟฟ้าแบบง่ายๆกัน โดยใช้ไม้กระดานธรรมดาๆ เพียงแผ่นเดียว ใน clip บอกว่าเป็นการสร้างภายใน 10 นาที เองครับ ถ้าท่านใดมีอุปกรณ์ครบ ก็ลองทำดูกันนะครับ

กีตาร์ไฟฟ้าทำงานอย่างไร

หลายวันมานี้ผมว่าด้วยเรื่องของ pickup กีตาร์ว่าหน้าเป็นอย่างไร ทำอย่างไร และมีหลักการทำงานอย่างไร วันนี้เรามาดูกันว่าถ้ากีตาร์ ทั้งตัวจะทำงานอย่างไร clip ลงทุนผ่ากีตาร์ออกมาอธิบายว่าแต่ละส่วนของกีตาร์นั้นมีส่วนทำให้เกิดเสียงดนตรี ที่หลากหลายจากเจ้าตัวกีตาร์เครื่องดนตรี ชิ้นโปรดของเราท่านนั้น ได้อย่างไร