GuitarBuffet Blog

Guitar lover bistro.

Archive for bridge

เหลาไม้ให้กลายเป็นกีตาร์คลาสสิก (ตอนที่9)

สวัสดีครับ มีการตีความจากข้อมูลบันทึกในอดีตว่าวันนี้เป็นวันสิ้นโลก ก็น่าจะเป็นการตีความที่มีความผิดพลาดเพราะเรายังติดตามชมการทำกีตาร์คลาสสิกตัวนี้กันได้ต่อ ว่าแล้วเรามาชมผลงานการสร้างกันต่อเลยดีกว่าครับ ตอนนี้มาว่ากันที่การประกอบตัวbinding และการทำbridge แล้วครับ  ตัวbinding ของแผ่นซาวด์บอร์ด งดงามน่าดูชม การดัดตัวbinding ที่ต้องดัดให้โค้งรับกับรูปทรงของกีตาร์ แล้วขั้นตอนประกอบbinding นี่ต้องใจเย็นมาก เพราะงานต้องปราณีตสุดๆ อย่าพลาดชมกันครับ

DIY วิธีจัดการกับอาการ fret buzz No.5

วันนี้มาชม clip ที่พูดเรื่องอาการ buzz กันต่อนะครับ วันนี้เป็นกรณีเกิดการ buzz ที่ bridge ที่เป็นแบบ Tune O Matic มือกีตาร์หนุ่มน้อยรายนี้ เล่าให้ฟังว่า กีตาร์ Epiphone ของเขามีอาการ buzz ทุกfret และเป็นทุกสาย เขาเลยจัดการนำไขควงปากแบน มากดลงไปในร่อง saddle ที่มีสปริง แล้วใช้ไขดวง กดขยับให้ตัว saddle แน่นขึ้น จะช่วยลดอาการ buzz ที่ว่า ก็เป็นอาการ buzz อีกแบบนึง เอาไว้เป็นข้อมูลกันนะครับ เผื่อจะไปเจออาการแบบนี้บ้าง

เรียนรู้เรื่องของ Buzz

วันนี้มี clip ที่ว่าด้วยเรื่องเสียง buzz ขณะเล่นกีตาร์ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการดีดสายเมื่อสายสั่นแล้วไปกระทบกับ fret ตัวอื่น ซึ่งจะรบกวนการเล่นกีตาร์ วิทยกรท่านนี้บอกว่ามีสาเหตุที่จะก่อให้เกิดbuzz ว่า จะเกิดจาก

1.การโก่งของคอกีตาร์

2.รัศมีของsaddle ไม่สอดคล้องกับรัศมีของ fretboard

3. fretboard บิดตัว

อาการเหล่านี้จะต้องแก้ด้วยการปรับคอกีตาร์ด้วยการขัน truss rod  ขัน saddle เพื่อปรับระยะ action ตามที่ได้นำเสนอ clip กันไปก่อนหน้านี้แล้ว  ลองชมดูกันเป็นความรู้เบื้องต้นกันก่อนนะครับ

DIY ทบทวนการดูแลกีตาร์

วันนี้มี clip ที่พูดถึงการดูแลรักษากีตาร์เบื้องต้น ตั้งแต่การเปลียนสาย การตั้งสาย การตั้ง intonation ไปจนถึงการตั้ง action การขัน truss rod ยำใหญ่มาใน clip เดียวกันนี่เลย ได้ทีเดียวหลายเรื่อง ถือเป็นการทบทวนการเรียนรู้ที่ผ่านๆมาด้วยครับ

DIY การตั้ง actionของกีตาร์ No.7

วันนี้เรามาชมการตั้ง action กันต่ออีกสักหน่อยนะครัย วิทยากรรายนี้ วัดความสูงของ action ที่ fret12 โดยพูดถึงระดับ action ที่ 4ส่วน64 นิ้ว ผมเลยนำรูปของการแบ่งส่วนบนไม้บรรทัดมาให้ชมกันเสียหน่อย

เขาบอกว่าให้วัดที่ระดับ 3/64นิ้ว หรือ4/64นิ้ว ก็ลองกะประมาณกันดูว่ามันเป็นกี่มิลลิเมตรเพราะส่วนใหญ่ไม้บรรทัดที่ใช้กัน มักไม่ได้แบ่งนิ้วเป็น 64 ส่วนที่หัวไม้บรรทัดเสียด้วย

ท้าย clip ก็พูดถึง intonation และการขัน truss rod เป็นของแถมให้ด้วยครับ

DIY การตั้ง actionของกีตาร์ No.2

วันนี้เรามาดู clip เกี่ยวกับการตั้ง action กีตาร์กันต่อนะครับ เมื่อวานนี้ตั้งระยะ action ที่ 4/64 นิ้ว

หมายความว่าให้แบ่ง 1 นิ้วออกเป็น 64 ส่วน แล้ววัดระยะ action ที่ 4 ส่วน ซึ่งจะได้ประมาณ 1.6 มม. ว้นนี้ วิทยากรท่านบอกว่า ให้วัดระยะ action ให้สอดคล้องกันกับความโค้งของ fretboard ที่fret 17 โดยเริ่มวัดจากสาย1 และสาย6 ให้ได้ความสูงของ action ที่ประมาณ 3/32 นิ้ว ก็น่าจะน้อยกว่า 1.6 มม. เล็กน้อย เราขันปรับตั้งความสูงของ saddle ที่สายต่างๆ ให้ได้ความสูงของสายที่ 3/32 นิ้วทุกสาย แล้วเราก็จะได้ ความสูงของ action ที่เหมาะสมครับ

DIY การตั้ง Intonation ให้กับกีตาร์ No.10

สวัสดีวันอาทิตย์ครับ ว่ากันด้วยเรื่อง Intonation กันมาถึง Blog ที่ 12 วันนี้ จัด clip ที่ให้ความรู้เรื่อง Intonation ค่อนข้างดีมาก อธิบายด้วยตรรกศาสตร์ แล้วทำให้เข้าใจว่า ทำไม saddleของกีตาร์โปร่ง ต้องเป็นรูปร่างหน้าตาแบบนั้น เนื่องจากกีตาร์โปร่งมีสายเปลือย 2เส้น คือสาย 1 และสาย 2 ส่่วนสาย 3-6 เป็นสายหุ้ม ทำให้ การวางตัวของ saddle แบบตายตัวของกีตาร์โปร่งจึงออกมาหน้าแบบนี้

ซึ่งเมื่อก่อนผมไม่มีความรู้เรื่อง Intonation ผมกลัววาง saddle กลับข้างจึงต้องใช้วิธีการเขียนตัวเลขของสายกีตาร์กำกับเอาไว้ ^^  ครั้นเมื่อเล็งไปที่นัทก็จะพบว่า นัทก็ไม่ได้วางเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับตัวfretboard จะมีลักษณะเฉียงนิดตามทิศทางของ saddle

ส่วน saddle ของกีตาร์ไฟฟ้า จะแตกกต่่างจาก saddle ของกีตาร์โปร่ง เพราะมีสาย 1-3 เปลือย ส่วนสาย 4-6 หุ้ม ทำให้การเรียงตัวของ saddle ภายหลังจากตั้ง Intonation ได้ระดับแล้วจะเป็นแบบนี้

ส่วนนัทของกีตาร์ไฟฟ้าก็มีลักษณะเฉียงนิดๆเช่นกัน

จากตรรกการออกแบบกีตาร์ดังกล่าว  จึ่งเป็นที่มาของ saddle ของกีตาร์ ระดับสูง อย่าง PRS ที่เป้นแบบตายตัว ว่าทำไมถึงมีหน้าแบบนั้น ลองดูการวางตัวของ saddle ของกีตาร์ PRS เพิ่มเติมจากใน clip นะครับ

รายนี้ตั้ง Intonation ด้วยการใช้ไม้บันทัดวัดระยะ จากนัทถึง fret12 และระยะจาก fret12 ถึง saddle เป็นหลัก โดยวัดจากจุดที่สายสัมผัสนัท สัมผัส fret12 และสัมผัส saddle

สาระใจความจาก clip บอกว่าการตั้ง Intonation เป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำ สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาก่อนก็คือการโก่งงอของคอกีตาร์ เพราะความโก่งขอคอกีตาร์มีผลต่อน้ำหนักการกดสายลงบนfret12 น้ำหนักการกดสายลงบน fret12 ก็จะมีผลต่อเสียงโน๊ต ด้วย  ดังนั้น ท่านนี้จึงเน้น การตั้ง Intonation ด้วยการวัดระยะ ด้วยไม้บรรทัด เป็นหลัก ลองชมดูจากใน clip กันนะครับ

DIY การตั้ง Intonation ให้กับกีตาร์ No.9 (Floyd Rose)

วันนี้ ขอนำเสนอการตั้ง Intonation ของกีตาร์ที่มีคันโยก Floyd Rose อีกสีัก 1 รายการนะครับ เป็นคันโยกของ Schaller บนกีตาร์ Dean ทรง Explorer สีดำขลับ ผมคุ้นเคยแต่ลูกบิดแบบlockได้ของ Schaller ยังไม่เคยเห้น คันโยกของ Schaller เลยหยิบมาฝากกันในวันหยุดสุดสัปดาห์ ดูเพลินๆ ได้ความรู้ไปด้วยครับ

DIY การตั้ง Intonation ให้กับกีตาร์ No.7 (fixed bridge)

ให้ชมการตั้ง Intonation ของกีตาร์แบบทรง Gibson มาหลาย clip แต่ไม่มีนายแบบที่เป็o Gibson จริงๆเลย วันนี้ เลยจัดนายแบบเป็น Les Paul Standard รูปงาม มาให้ชมกัน clip นี้อธิบายช้า เข้าใจง่าย การหมุนปรับ saddle เพื่อแก้เสียง ชาร์ป แฟล็ต ที่ fret 12 ชัดเจนมาก แถมพอตั้ง Intonation เสร็จมีการคลึงสายทุกเส้น ก่อนตั้งสายอีกครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี ง่ายครับ ลองชมกัน

DIY การตั้ง Intonation ให้กับกีตาร์ No.6 (fixed bridge)

สวัสดีวันพุธ วันนี้มาชมกันต่อเรื่อง Intonation เรายังอยู่กับกีตาร์ทรง Gibson กันต่อ ใน clip อธิบายเรื่องของความสัมพันธ์ ระหว่างระยะห่างระหว่างนัทถึงfret 12 และระยะห่างระหว่าง fret12 กับ saddle ว่าไปสัมพันธ์กับ Intonation ได้อย่างไร  ดูด้ไม่ยากเลย ลองชมกันดูครับ