GuitarBuffet Blog

Guitar lover bistro.

Archive for คอกีตาร์

DIY : หัดเปลี่ยน Nut กีตาร์ทรง Telecaster กัน (ตอนที่1)

สวัสดีวันพฤหัสบดีครับ วันท้ายๆสัปดาห์ งานคงยุ่งกันน่าดูชม วันนี้ลองมาชมวิธีการเปลี่ยน nut กีตาร์ทรง Telecaster กันนะครับ ว่าเราจะเปลี่ยน nut เดิมที่ชำรุด แตกหัก นั้นได้อย่างไร

DIY : มาลองหัดทำ Nut กระดูกกัน (ตอนที่3)

สวัสดีวันพุธ ครับ ตื่นมาพร้อมกับการได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับประเด็นการสูญเสียดินแดน ที่ยังไม่ชัดเจน ก็ขอให้ศึกษาข้อมูลกันให้ชัดเจนเสียก่อน ก่อนจะตัดสินว่าใครถูกใครผิดนะครับ วันนี้ยังนำ clip เกี่ยวกับการทำ nut มาฝากกัน ลองชมกันครับ

DIY : มาลองหัดทำ Nut กระดูกกัน (ตอนที่2)

สวัสดีวันอังคาร ครับ ก็ผ่านกันไปแล้ว สำหรับคำตัดสินคดีเขาพระวิหาร ที่น่าจะเป็นการตัดสินที่ออกมาในมุมบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ก็ต้องพยายามทำใจเป็นกลางแล้วจะมีความสุข วันนี้ผมนำ clip สอนการทำ nut กระดูก อีกแบบนึง ซึ่งผมเองได้เคยพยายามทำ nut กระดูกเอง ค่อยๆนั่งตะไบ ไปเรื่อยๆ แต่ตอนเซาะร่องต้องให้เพื่อนที่เป็นช่างทำกีตาร์ ช่วยทำให้  ลองศึกษาเป็นแบบอีกแนวทางนึงนะครับ

 

DIY : มาลองหัดทำ Nut กระดูกกัน (ตอนที่1)

สวัสดีวันจันทร์ ครับ เริ่มต้นสัปดาห์ใหม่กันอีกแล้ว กับสภาพที่อึมครึม ทั้งเรื่องการเมืองและคดีเขาพระวิหาร ก็ได้แต่หวังใจว่า ประเทศชาติจะมีทางออกที่ดี มีความสุขกันทุกฝ่ายนะครับ วันนี้ผมนำ clip ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง nut โดยเฉพาะ ลองมาชมวิธีการทำ nut จากกระดูกสัตว์กันครับ ว่ามีวิธีการตั้งแต่เริ่มต้นเป็นชิ้นกระดูกกันเลย ทีเดียว

DIY การทำ Jig สำหรับทำคอกีตาร์

สวัสดีครับ เหลือวันทำงานอีกวันเดียว พรุ่งนี้ก็จะได้หยุดยาวอีกแล้วนะครับ เมื่อวานเพิ่งจบตอนการสร้างกีตาร์ทรง Telecaster ตัวพิเศษ อันเป็นชิ้นงานขั้นสุดยอด วันนี้ เลยขอต่อด้วยเกร็ดสาระ จากมือโปรคนนี้มาฝากกันต่อ

วันนี้เป็นการทำตัวแบบ (Jig) สำหรับทำมุมเอียงของส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างคอกีตาร์กับหัวกีตาร์ ซึ่งกีตาร์ทุกตัวจะต้องมีองศาของหัวกีตาร์ น่าจะเป็นอีกวิธีนึงในการทำจุดเชื่อมต่อนี้ ดูแล้วได้ความรู้ดีครับ

เคล็ดวิธีการเลือกซื้อ กีตาร์ไฟฟ้า

สวัสดีวันสุดสัปดาห์ครับทุกท่าน เผลอแป๊บเดียว ก็จะเข้าช่วงเทศกาลปีใหม่ไทยกันอีกแล้ว สัปดาห์หน้าก็จะเข้าช่วงวันหยุดยาว หลายท่านเตรียมตัวที่จะไปท่องเที่ยวกัน

วันนี้ผมนำ clip ที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการเลือกซื้อกีตาร์ไฟฟ้า ซึ่งวิทยากร เป็นเจ้าของร้านกีตาร์ระดับท้องถิ่นในต่างประเทศ ซึ่งท่านให้คำแนะนำในการซื้อกีตาร์ที่เหมาะสมกับตัวเองว่า จะต้องมี ความรู้สึก หรือfeeling ของการเชื่อมต่อตนเองเข้ากับกีตาร์ตัวนั้น วิทยากรไม่แนะนำให้ซื้อกีตาร์เพราะชื่อเสียงของตัวกีตาร์  ปัจจุบันมีกีตาร์หลายระดับ ที่ผลิตจากต่างที่กัน ทั้งในอเมริกา ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย โดยกีตาร์ที่ผลิตจากที่แรกมีคุณภาพดีที่สุดและมีราคาแพงที่สุด ส่วนกีตาร์ที่ผลิตจากอินโดนีเซีย อาจจจะมีคุณภาพสู้กีตาร์ที่ทำในอเมริกา แต่อาจจะมีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการของเรามากที่สุดก็ได้ การศึกษาข้อมูลของกีตาร์อาจใช้แนวทางจากการใช้งานของมือกีตาร์รายอื่นๆ เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อกีตาร์ของเรา

นอกจากนี้ยังมีร้านกีตาร์เก่าที่มีกีตาร์ดีๆให้เลือกซื้อมากมาย แต่ก็มักจะมีไม่เอกสารหรือคู่มือการใช้ใดๆให้เราได้ศึกษาก่อนซื้อ ดังนั้น วิทยากร จึงแนะนำ หลัก 3 สามประการในการเลือกซื้อกีตาร์เก่า คือ

1.ฟังจากเสียงของกีตาร์

2.ลองเล่นเพื่อสัมผัสว่าเล่นแล้วเข้ามือหรือไม่

3.ดูสภาพภายนอกทั่วไป

สำหรับผมก็ใช้หลักวิธีใกล้เคียงกันกับวิทยากรท่านนี้ เพราะกีตาร์ของผมทุกตัวเป็นกีตาร์เก่า อย่างแรกที่ผมที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ คือสี เพราะผมจะซื้อกีตาร์ที่เป็นโทนสีดำเท่านั้น หลังจากนั้น ผมจะลองเล่นเพื่อฟังเสียงของกีตาร์ตัวนั้น โดยผมจะเน้นเรื่องของเสียง sustain ซึ่งจากประสบการณ์ของผม กีตาร์ที่จะให้เสียง sustain ที่ดีมันจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของคอกีตาร์ ผมเคยถามเพื่อนที่เป็นช่างทำกีตาร์ว่าให้น้ำหนักความสำคัญส่วนไหนของกีตาร์มากที่สุดในการระบุคุณภาพของกีตาร์ ซึ่งเขาตอบว่า คอกีตาร์ ผมก็ได้สัมผัสเรื่องของคอกีตาร์จากประสบการณ์ในการสั่งชิ้นส่วนกีตาร์จาก อีเบย์ มาประกอบเป็นกีตาร์ ซึ่งก็คือเจ้า Telecaster ตัวที่เป็นนายแบบอยู่บน cover ของ guitarbuffet นี่ล่ะครับ กีตาร์ตัวนี้ผมสั่งคอ Fender Telecaster Deluxe ของ US มาเลยทีเดียว ส่วนตัวกีตาร์ เป็นรุ่น Deluxe จากญี่ปุ่น หลังจากได้ส่วนประกอบทั้งหมดแล้วประกอบขึ้นมาเป็นกีตาร์ที่สมบูรณ์แล้ว ผมพบว่ามันให้เสียง sustain ที่สัมผัสได้จากคอกีตาร์กันเลยครับ

ส่วนองค์ประกอบอื่นๆในการตัดสินใจเลือกซื้อกีตาร์เก่า ก็จะคล้ายๆกันกับวิทยากรท่านนี้ คือการดูสภาพของ Fret คอมีรอยร้าวหรือไม่ รอยต่อของตัวกีตาร์กับคอกีตาร์มีรอยร้าวหรือไม่ ถ้ามีร่องรอยเหล่านี้ปรากฏอยู่ก็มีแนวโน้มจะต้องใช้งบประมาณในการบำรุงรักษาซ่อมแซมอีกหลายบาทกว่าจะเข้าที่เข้าทางครับ

มาดูการทำกีตาร์มังกร กันดีกว่า (ตอนที่2)

วันนี้มาชมการทำกีตาร์มังกรตัวนี้กันต่อนะครับ ตอนนี้เป็นขั้นตอนการทำคอกีตาร์ ที่มีขนาด 25.5 สเกล ตามภาษาเทคนิค ส่วนนี้คือส่วนหัวมังกร ลองชมฝีมือการทำหัวกีตาร์ซึ่งเป็นหัวมังกร วันนี้จะได้เห็นลักษณะของการ bolt-on neck ว่าเป็นอย่างไร ดูเรื่องความสัมพันธ์ของรูบน Neck Plate กับรูบนตัวกีตาร์และคอกีตาร์  และขั้นตอนสุดท้ายคือการเจาะรู สำหรับการใส่ pickup ซึ่งต้องมีการวาง center ทุกจุด ลองชมกันครับ

จากแผ่นไม้กลายเป็นกีตาร์ไฟฟ้า (ตอนที่3)

เปิดมาแป้บเดียว ก็ถึงวันศุกร์อีกแล้ว พรุ่งนี้ก็ได้หยุดงานกันล่ะ ท่านที่ลายาว ก็คงยังท่องเที่ยวกันอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศกันไป วันนี้มาชมการสร้างกีตาร์ไฟฟ้าคอ ebonyตัวนี้กันต่อครับ

ตอนนี้เป็นเรื่องการเก็บรายละเอียดคอกีตาร์ ตั้งแต่อัดกาวแผ่น fret board เข้ากับส่วนคอกีตาร์ บากร่องสำหรับใส่ fret และทำbinding  ทำหัวกีตาร์ เจาะใส่ลูกบิด

วันนี้ได้เห็นกีตาร์ เป็นรูปเป็นร่าง ลองดูขั้นตอนดารประกบ body กีตาร์ เข้ากับคอกีตาร์ แล้วจะเห็นภาพว่า กีตาร์แบบ neck through นั้นมีที่มาอย่างไร ชื่อตรงตัวเป๊ะ

วันนี้ ดำเนินไปหลายรายการ ลองชมกันครับ

เหลาไม้ให้กลายเป็นกีตาร์คลาสสิก (ตอนที่12)

มาชมการสร้างกีตาร์คลาสสิกตัวนี้กันต่อครับ หลังจากที่เมื่อวานลงรายละเอียดกันการประกอบ fretboard จนเสร็จสวยงามวันนี้มาสู่ขั้นตอนการเหลาคอกีตาร์ และติดfret ดูแล้วเพลินจริงๆ กับการทำกีตาร์ตัวนี้ ลองชมกันต่อเลยครับ

เหลาไม้ให้กลายเป็นกีตาร์คลาสสิก (ตอนที่4)

มาต่อกันด้วย clip การทำกีตาร์คลาสสิกกันต่อครับ ตอนนี้ เริ่มทำส่วนของไม้ข้างของตัวกีตาร์แล้วครับ ซึ่งต้องใช้ความละเมียดละไมในการดัดแผ่นไม้ให้โค้งเข้ารูปตัวกีตาร์ ค่อยๆดัดทีละนิด จนได้เป็นรูปร่างของตัวกีตาร์ วันนี้จบลงตรงการประกอบไม้ข้างเข้ากับคอกีตาร์ ครับ